Friday, 26 April 2024 | 3:21 am
spot_img
Friday, 26 April 2024 | 3:21 am
spot_img

ส่งท้ายโครงการอบรมความรู้ประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Training for the Trainers ปี 2563 อย่างยิ่งใหญ่


• เผยยอดชาวนาทำประกันภัยข้าวนาปีในปี63 นับถึงเดือนตุลาคมสูงถึง 44.36 ล้านไร่ทุบสถิติทุกปีที่ผ่านมา

• เล็งพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยยางพาราต่อยอดประกันภัยพืชผลทางเกษตรพร้อมวางโครงสร้างพื้นฐานประกันภัยพืชผลอย่างยั่งยืน

ดร.สุทธิพลทวีชัยการเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(เลขาธิการคปภ.) เปิดเผยว่าตามที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเมื่อวันที่21 เมษายน2563 เห็นชอบโครงการประกันภัยข้าวนาปีปีการผลิต2563 และโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีการผลิต2563 โดยมอบหมายให้สำนักงานคปภ. ปรับปรุงกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปีและจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เป็นไปตามรูปแบบและหลักเกณฑ์ของการรับประกันภัยตลอดจนส่งเสริมความรู้ด้านประกันภัยแก่เกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้มีเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติรวมทั้งขับเคลื่อนโครงการ“Training for the Trainers” ประจำปี2563 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้แก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องที่จะไปเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ต่อให้กับเกษตรกรและผลักดันระบบการประกันภัยเข้าไปเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารความเสี่ยงภัยธรรมชาติให้กับเกษตรกรโดยปีนี้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จึงได้กำหนดพื้นที่จัดการอบรมฯครอบคลุมในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ5 จังหวัดได้แก่เพชรบุรีราชบุรีตากกาฬสินธุ์และพัทลุงซึ่งเป็นจังหวัดสุดท้ายในการปิดโครงการของปีนี้ 

โดยเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 เลขาธิการคปภ. พร้อมด้วยคณะผู้บริหารคปภ. และคณะวิทยากรตลอดจนภาคอุตสาหกรรมประกันภัยได้ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรกว่า100 คนณหอประชุมองค์กรบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงตำบลเขาเจียกอำเภอเมืองพัทลุงจังหวัดพัทลุงเพื่อรับฟังสภาพปัญหาอุปสรรคข้อคิดเห็นตลอดจนข้อเสนอแนะของการทำประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประจำปี2563 ซึ่งเกษตรกรได้สะท้อนสภาพปัญหาและอุปสรรคต่างๆอันเป็นประโยชน์ต่อการนำไปปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการรับประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รวมถึงได้รับทราบความต้องการในพื้นที่เกี่ยวกับการประกันภัยพืชผลประเภทอื่นโดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอาทิยางพาราปาล์มน้ำมันเป็นต้น 

ถัดมาในวันที่3 พฤศจิกายน2563 เลขาธิการคปภ. ได้เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการอบรมความรู้ประกันภัยTraining for the Trainers สำหรับการประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประจำปี2563  ณห้องSiva Grand Ballroom ชั้น2 โรงแรมศิวารอยัลอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุงโดยมีนายกู้เกียรติวงศ์กระพันธุ์ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงให้เกียรติกล่าวต้อนรับและกล่าวขอบคุณสำนักงานคปภ. ที่เลือกจังหวัดพัทลุงเป็น1 ใน5 จังหวัดในการจัดอบรมความรู้ด้านประกันภัยในปีนี้อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับเกษตรกรในจังหวัดพัทลุงเพื่อนำระบบประกันภัยใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทั้งนี้จังหวัดพัทลุงถือเป็นเมืองเกษตรกรรมและเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของภาคใต้ซึ่งในพื้นที่ยังมีการเพาะปลูกข้าวที่มีคุณภาพสูงคือข้าวสังหยดแม้จะมีพื้นที่เพาะปลูกน้อยก็ตามแต่ในปีนี้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้ให้ความสำคัญในการทำประกันภัยสูงกว่าปีก่อนมากและคาดว่าภายในวันที่31 ธันวาคม2563 นี้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพัทลุงจะนำระบบประกันภัยมาบริหารความเสี่ยงได้เกือบ100% ซึ่งได้สั่งการให้ส่วนราชการต่างๆของจังหวัดให้ความสำคัญในเรื่องประกันภัยข้าวนาปีและช่วยกันเร่งขับเคลื่อนภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการตามโครงการให้สัมฤทธิ์ผลอย่างไรก็ดีจากวิถีชีวิตของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุงที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวเปลี่ยนเป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอาทิยางพาราปาล์มน้ำมันมังคุดและลองกองเป็นต้นซึ่งหากพืชผลทางการเกษตรเหล่านี้มีผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารความเสี่ยงก็จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างยิ่งต่อไปด้วย 

เลขาธิการคปภ. กล่าวด้วยว่าสำหรับการประกันภัยข้าวนาปีในปีนี้รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายสูงสุดไม่เกิน45.7 ล้านไร่โดยล่าสุดณวันที่20 ตุลาคม2563 ข้อมูลการรับประกันภัยข้าวนาปีทั่วประเทศพบว่าเกษตรกรทำประกันภัยข้าวนาปีจำนวน44,360,043 ไร่คิดเป็นอัตราการเข้าถึงประกันภัยร้อยละ72.58  ดังนั้นโดยภาพรวมของการทำประกันภัยข้าวนาปีในปีนี้แม้จะยังไม่รวมตัวเลขการทำประกันภัยข้าวนาปีในพื้นที่ภาคใต้เนื่องจากภาคใต้ยังเปิดรับประกันภัยข้าวนาปีไปจนถึงวันที่31 ธันวาคม2563 ก็ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากและที่สำคัญประกันภัยสามารถเข้าไปบริหารความเสี่ยงและเยียวยาความสูญเสียให้กับพี่น้องเกษตรกรได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

สำหรับการประกันภัยพืชผลนับวันจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับพืชผลทางการเกษตรมาโดยตลอดโดยเริ่มจากการประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รวมถึงการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรอื่นๆอาทิการประกันภัยลำไยการประกันภัยทุเรียนภูเขาไฟโดยล่าสุดจากการลงพื้นที่พบว่าเกษตรกรมีความต้องการให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและมีพื้นที่ปลูกกระจายอยู่ในหลายจังหวัดของประเทศดังนั้นจึงถือเป็นภารกิจสำคัญที่สำนักงานคปภ.จะเดินหน้าบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษารูปแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้ตอบโจทย์ความต้องการของพี่น้องเกษตรกรควบคู่ไปกับการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือระบบเทคโนโลยีในการสำรวจความเสียหายและการชดใช้

ค่าสินใหมทดแทนโดยเร็วรวมถึงการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรให้มากยิ่งขึ้นส่วนในระยะยาวคือการวางหลักเกณฑ์โครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้การประกันภัยพืชผลทางการเกษตรเกิดความยั่งยืนเนื่องจากภัยธรรมชาติสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาโดยสำนักงานคปภ. ได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่4 (พ.ศ. 2564 – 2568) 

“ผมขอขอบคุณหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับสำนักงาน คปภ. อย่างเหนียวแน่นในการขับเคลื่อนโครงการอบรมความรู้ประกันภัยTraining for the Trainers สำหรับประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประจำปี2563 อันจะเป็นประโยชน์และขยายผลไปถึงเกษตรกรชาวนาไทยให้มีความรู้ความเข้าใจและเล็งเห็นความสำคัญของการประกันภัยมากยิ่งขึ้นส่งผลให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการปฏิรูปการประกันภัยพืชผลของประเทศไทยอย่างแท้จริง” เลขาธิการคปภ. กล่าวในตอนท้าย 

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img

ข่าวล่าสุด

บริษัท ไม่ลองไม่รู้ จำกัด เลขที่ 108/240 หมู่ที่ 2 หมู่บ้านพฤกษาวิลล์56 ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210

E-Mail : anchaliphon.k@gmail.com

T. 081-666-6822

จำนวนผู้เข้าชม : 979,089

©2020-2022 www.worldbusiness-th.com