นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และคณะกระทรวงพาณิชย์ ประชุมหารือกับ 3 ภาคเอกชนด้านการค้าไทย-อินเดีย คือ 1.หอการค้าอินเดีย-ไทย (India-Thai Chamber of Commerce) เดิมชื่อชมรมผู้ประกอบการค้าชาวอินเดีย (Indian Society of Trade) 2.สมาคมธุรกิจอินเดีย-ไทย (India-Thailand Business Association) 3.สภาธุรกิจไทย-อินเดีย (Thailand-India Business Council) ก่อตั้งข้ึนต้ังแต่ปี 2550 โดยคณะกรรมการร่วม ภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคม ธนาคารไทย ต่อมา กกร. ได้แต่งต้ังให้สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดูแล
ภายหลังการประชุม นายจุรินทร์ กล่าวว่า ไทยให้ความสำคัญกับตลาดอินเดียเป็นพิเศษเพราะอินเดียมีประชากรถึง 1,300 ล้านคนและ GDP มีขนาดใหญ่เป็นลำดับ 5 ของโลก และเป็นคู่ค้าอันดับ1 ของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ และที่ผ่านมาได้นำกระทรวงพาณิชย์และภาคเอกชนเดินทางไปเยือนอินเดียมาแล้วเพื่อเจรจาทางการค้า 2 ครั้ง ซึ่งสามารถลงนาม MOU เพื่อทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกันได้เป็นจำนวนรวมกันถึง 10,137 ล้านบาท โดยมีการส่งมอบแล้ว 5,948 ล้านบาท ที่ยังไม่ครบเพราะติดเรื่องโควิด-19 ที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ได้มีการส่งมอบแล้วถึงร้อยละ 60 โดยประมาณ
การหารือในวันนี้ เรามีความเห็นว่าไทยกับอินเดียควรจะได้มีการทำการค้าเชิงลึกระหว่างกันมากขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องของการทำข้อตกลงทางการค้า ขณะนี้เรามี FTA ไทย-อินเดีย และมี FTA อาเซียน-อินเดียอยู่ แต่นโยบายของผมที่เห็นตรงกันกับภาคเอกชนคือถ้าเราสามารถทำ mini FTA ระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับรัฐหรือมณฑลของประเทศต่างๆก็จะช่วยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าเชิงลึกระหว่างไทยกับแต่ละรัฐแต่ละมณฑลได้มากขึ้น ตนได้มอบให้มีการทำ Mini FTA ระหว่างไทยกับอินเดีย ได้มีการดำเนินการจนยกร่างเสร็จสิ้นแล้วสำหรับการทำ Mini FTA ระหว่างกระทรวงพาณิชย์หรือประเทศไทยกับรัฐเตลังคานาของอินเดีย ถัดไปจากนี้ตนจะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเมื่อให้ความเห็นชอบแล้วจะมีการลงนาม ระหว่างกระทรวงพาณิชย์ของไทยกับกระทรวงอุตสาหกรรมของ รัฐเตลังคานาของอินเดียต่อไป โดยกำหนดวันไว้เบื้องต้นในช่วงเดือนมกราคม 2564
” วันนี้ได้มีการหารือร่วมกันกับภาคเอกชนนอกจากการทำ Mini FTA ระหว่างไทยกับรรัฐเตลังคานาแล้ว จะมีการเตรียมการสำหรับรัฐอื่นๆด้วย ดังนี้ 1. รัฐคุชราต 2.กรณาฏกะ 3. รัฐมหาราษฏระ 4. เคเรล่า และ 5.รัฐ 8 สาวน้อย หรือรัฐอัสสัมเป็นเป้าหมายที่จะเดินหน้าต่อไปที่จะทำ Mini FTA กับอินเดียและหลังสถานการณ์โควิด-19 ผมจะนำภาคเอกชนเดินทางไปทำขายสินค้าในฐานะหัวหน้าเซลล์แมนประเทศอีกรอบหนึ่งเพื่อเปิดตลาดอินเดียให้ไทยมากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับอินเดียเพิ่มเติม โดยอำนวยความสะดวกให้กับอินเดียได้ในการทำการค้ากับไทย ” นายจุรินทร์ กล่าว
นายจุรินทร์ กล่าวว่า สำหรับปัญหาอุปสรรคของฝ่ายไทย เช่น เรื่องพิกัดศุลกากรที่ยังไม่ตรงกันระหว่างไทยกับอินเดีย กระทรวงพาณิชย์โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจะเข้าไปหารือในการประชุมระหว่างอาเซียนกับอินเดียต่อไป และเรื่องการดำเนินการเวลาไทยส่งสินค้าเข้าไปในอินเดียปรากฏว่าทางศุลกากรอินเดียยังต้องการรายละเอียดให้ผู้ส่งออกไทยตอบคำถามหลายข้อที่เป็นความลับทางการค้าซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้หยิบยกมาที่ประชุม JTC ไทย-อินเดีย เมื่อปลายปีที่แล้ว และรอผลในการคุยกันต่อไป ล่าสุดอินเดียกับไทยได้มีการจัดสัมมนาออนไลน์เพื่อทำความเข้าใจในทางปฏิบัติเรื่องนี้เพื่อให้การส่งสินค้าสะดวกคล่องตัวขึ้นและปัญหาอุปสรรคในเรื่องที่ผู้ประกอบการไทยนำสินค้าเข้ามาจากอินเดียโดยศุลกากรของไทยไปขอเอกสารย้อนหลังทั้งที่นำเข้ามาแล้วขายไปแล้ว 4-5 ปี จะต้องมาแจ้งเอกสารย้อนหลังกระทรวงพาณิชย์รับที่จะไปคุยกับกรมศุลกากรต่อไปเพื่อไม่ให้เป็นปัญหาอุปสรรคโดยไม่จำเป็น
รายงานจากกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า การค้ารวมระหว่างไทยและอินเดีย
- ระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2558-2562) มูลค่าเฉลี่ยปีละ 10,136.58 ล้านเหรียญสหรัฐ และไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้า มาโดยตลอด
- ปี 2562 อินเดียเป็นคู่ค้าอันดับท่ี 11 ของไทย และเป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 ของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ ขณะที่ไทยเป็น คู่ค้าอันดับ 4 ของอินเดียในภูมิภาคอาเซียน รองจากสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยการค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 12,147.68 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2561 ร้อยละ 2.77 และมูลค่าการค้าสองฝ่ายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.52 ของ มูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย และไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้า 2,532.94 ล้านเหรียญสหรัฐ
- ม.ค.-ต.ค. 63 การค้ารวมมีมูลค่า 7,871.53 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ร้อยละ 24.41 และไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้า 909.55 ล้านเหรียญสหรัฐ
การส่งออกสินค้าของไทยไปอินเดีย
- ระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2558-2562) ไทยส่งออกไปอินเดียมูลค่าเฉลี่ยปีละ 6,379.31 ล้านเหรียญสหรัฐ
- ปี2562อินเดียเป็นตลาดส่งออกอันดับท่ี10ของไทยในตลาดโลกและเป็นอันดับที่1ของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ โดยไทยส่งออกไปอินเดียมูลค่า 7,340.31 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2561 ร้อยละ 3.77
- ม.ค.-ต.ค. 63 ไทยส่งออกไปอินเดียมูลค่า 4,390.54 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ร้อยละ 30.53
- สินค้าส่งออกหลักของไทยไปอินเดีย 5 อันดับแรก (ม.ค.-ต.ค. 63) ได้แก่ 1) เม็ดพลาสติก (-19.25%) 2) เคมีภัณฑ์ (-27.57%) 4) อัญมณีและเครื่องประดับ (-46.62%) 4) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล (-22.62%) และ 5) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (-13.87%)