วันศุกร์, 4 เมษายน 2025 | 3:14 pm
spot_img
วันศุกร์, 4 เมษายน 2025 | 3:14 pm
spot_img

คปภ. ออกแนวปฏิบัติใหม่! คุมเข้มความเสี่ยงประกันภัยต่อ ยกระดับการบริหารจัดการ สร้างเสถียรภาพให้บริษัทประกันวินาศภัย

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ออกประกาศแนวปฏิบัติที่ดี ในการควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยต่อของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2568 เพื่อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ ที่บริษัทประกันวินาศภัยต้องดำเนินการในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการประกันภัยต่อให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ที่บริษัทประกันวินาศภัยต้องดำเนินการในการทำกิจกรรมด้านการประกันภัยต่อ เพื่อให้บริษัทประกันวินาศภัย มีการบริหารการประกันภัยต่อและการควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยต่อที่ดี มีการปฏิบัติอย่างรอบคอบและครอบคลุม ตามประกาศ คปภ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันภัยต่อของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๖๖

นายอาภากร ปานเลิศ รองเลขาธิการ ด้านกำกับธุรกิจประกันภัย สำนักงาน คปภ. เปิดเผยว่า แนวปฏิบัติดังกล่าวมุ่งเน้นให้บริษัทประกันวินาศภัยมีระบบบริหารจัดการความเสี่ยงที่ครอบคลุมและรอบคอบ โดยแบ่งออกเป็น 2 เรื่องหลักสำคัญ ได้แก่

1) ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยต่อ บริษัทต้องควบคุมความเสี่ยงสำคัญให้ครบถ้วน ไม่เพียงแต่เฉพาะความเสี่ยง ด้านเครดิต ด้านการปฏิบัติการ ด้านการกระจุกตัว ด้านสภาพคล่อง เท่านั้น แต่ต้องรวมไปถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำประกันภัยต่อไม่เพียงพอ หรือความเสี่ยงที่เกิดใหม่จนส่งผลกระทบต่อเงินกองทุนของบริษัทด้วย

2) การรายงานกรอบการบริหารการประกันภัยต่อของบริษัท บริษัทต้องกำหนดนโยบายประกันต่อโดยต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ความสามารถในการทำกำไร ฐานะเงินกองทุน ในการบริหารความเสี่ยง บริษัทต้องกำหนดความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) ระดับความเสี่ยงสูงสุดที่ยอมรับได้ (risk tolerance) ขีดจำกัดในการรับเสี่ยงภัยไว้เอง (retention limits) ที่ชัดเจน ในการจัดทำแผนการประกันภัยต่อ บริษัทต้องประเมินความเสียหายสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นได้ (Probable Maximum Loss : PML) กำหนดระดับการรับเสี่ยงภัยไว้เองสูงสุดต่อเหตุการณ์ (Maximum Event Retention : MER) มาตรการป้องกันและแผนรองรับ สำหรับดำเนินการให้กลับมาอยู่ภายใต้สภาวะปกติตามระดับความเสี่ยงที่กำหนดไว้ ในการพิจารณาคัดเลือกผู้รับประกันภัยต่อและการใช้บริการนายหน้าประกันภัยต่อ บริษัทต้องคำนึงถึงความมั่นคงทางการเงินและความรู้ความเชี่ยวชาญด้วย นอกจากนี้ บริษัทต้องมีกระบวนการติดตามผล ตรวจสอบและทบทวนการบริหารการประกันภัยต่ออย่างสม่ำเสมอ โดยผู้บริหารมีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ทบทวนแนวทางการบริหารการประกันภัยต่อเป็นประจำทุกปี และจัดส่งรายงานต่อสำนักงาน คปภ. ภายใน 90 วันหลังจากรอบวันที่รอบระยะเวลลาสัญญาประกันภัยต่อตามสัญญาที่เป็นรอบหลักมีผลใช้บังคับ

“แนวปฏิบัติใหม่นี้จะช่วยยกระดับมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัย และส่งเสริมความมั่นคงของภาคธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยให้บริษัทประกันวินาศภัยสามารถใช้การประกันภัยต่อเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับแนวทางการบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวม (Enterprise Risk Management : ERM) เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบประกันภัยโดยรวมต่อไป” รองเลขาธิการ ด้านกำกับธุรกิจประกันภัย กล่าวในตอนท้าย

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img

ข่าวล่าสุด

บริษัท ไม่ลองไม่รู้ จำกัด เลขที่ 108/240 หมู่ที่ 2 หมู่บ้านพฤกษาวิลล์56 ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210

E-Mail : anchaliphon.k@gmail.com

T. 081-666-6822

จำนวนผู้เข้าชม : 1,196,354

[gtranslate]

©2020-2022 www.worldbusiness-th.com