
ณ ที่ทำการกลุ่มหัตถกรรมผักตบชวา บ้านอ้อย หมู่ที่ 7 ตำบลสรรพยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท นายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มอบหมายให้ นายทินกร บุญเงิน ผู้ตรวจราชการกรม เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนารูปแบบชุมชนภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมที่ 1 พัฒนาองค์ความรู้ให้กับองค์กร กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการในชุมชน โดยมีนายสุรพล แก้วอินธิ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กล่าวรายงานฯ พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญและวิทยากร ได้แก่ ดร.กรกลด คำสุข รองคณบดีฝ่ายวิชาการรักษาการผู้อำนวยการสำนักวิชาสร้างสรรค์วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดร.ณัฐวรรธน์ วิวัฒน์กิจภูวดล อาจารย์พิเศษ Vice president- Retail business strategy and innovation ดร.นวัทตกร อุมาศิลป์ อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นายชัยณรงค์ กาญจะนะกัญโห พัฒนาการจังหวัดชัยนาท นางลัดดาวัลย์ ผาสุพันธ์ นายอำเภอสรรพยา นางสาวริตยา รอดนิ่ม ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาชุมชน หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และสมาชิกกลุ่มหัตถกรรมผักตบชวาบ้านอ้อย ร่วมกิจกรรมฯ

นายทินกร บุญเงิน ผู้ตรวจราชการกรม กล่าวว่า “นับเป็นความภาคภูมิใจของพวกเราทุกคนที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการสนองแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงทุ่มเท เสียสละด้วยความมุ่งมั่นที่จะสืบสาน รักษาและต่อยอด เพื่อทำให้พวกเราทุกคนได้มีโอกาสที่ดีในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยนำภูมิปัญญาผ้าไทยผ้าอัตลักษณ์ และงานหัตถกรรมทุกรูปแบบ มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตโครงการพัฒนารูปแบบชุมชนภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นส่วนหนึ่งในโครงการตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” เป็นการจัดเก็บและบันทึกภูมิปัญญาสำคัญของชุมชน นำมาถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความร่วมสมัยตรงตามความต้องการของตลาด ผ่าน 3 กิจกรรมดังนี้ กิจกรรมที่ 1 พัฒนาองค์ความรู้ให้กับองค์กร กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการในชุมชน กิจกรรมที่ 2 ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และ กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมเปิดตัวชุมชนภูมิปัญญาพร้อมจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ซึ่งการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับองค์กร กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการในชุมชน โดยนำภูมิปัญญามาพัฒนาให้เกิดผลงานอันทรงคุณค่า ตรงตามความต้องการของตลาด
ในโอกาสนี้ ขอขอบคุณท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาคส่วนจังหวัด อำเภอชุมชน และขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องผู้ประกอบการทุกท่าน ได้มุ่งมั่นสนองพระกรณียกิจ ในการสืบสานและต่อยอดภูมิปัญญาที่มีเอกลักษณ์ ให้สามารถก้าวสู่ระดับสากล เพื่อวิถีชุมชนที่ยั่งยืน และสร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป” นายทินกร กล่าวทิ้งท้ายฯ



