Thursday, 18 April 2024 | 6:46 pm
spot_img
Thursday, 18 April 2024 | 6:46 pm
spot_img

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) ไขทุกข้อข้องใจประกันภัยไซเบอร์ ตอน ประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคล

Q : ประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคล คือ?

A : ประกันภัยความเสี่ยงภัยที่บุคคลทั่วไป อาจเกิดความสูญเสียหรือความเสียหายขึ้นจากการถูกโจรกรรมหรือกรรโชกทรัพย์หรือคุกคามหรือละเมิดด้านความปลอดภัยไซเบอร์ส่วนบุคคลหรือด้านความปลอดภัยของข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลทั่วไปซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม จากการใช้อินเทอร์เน็ต

Q : ประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคลต่างกับประกันภัยไซเบอร์เชิงพาณิชย์ อย่างไร?

A : ประกันภัยไซเบอร์เชิงพาณิยช์ เป็นประกันภัยความเสี่ยงที่ธุรกิจ หรือองค์กร หรือบริษัท หรือหน่วยงานต่าง ๆ อาจเกิดความสูญเสียหรือความเสียหายขึ้นจากการถูกโจรกรรมหรือกรรโชกทรัพย์หรือคุกคามหรือละเมิดด้านความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบโครงข่ายของธุรกิจ หรือองค์กร หรือบริษัท หรือหน่วยงานต่าง ๆ        ซึ่งต่างกับประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นประกันภัยความเสี่ยงของข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลทั่วไปจากการใช้อินเทอร์เน็ต

Q : ข้อดีของประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคล มีอะไรบ้าง?

A : ประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคล สามารถช่วยประชาชนลดความสูญเสียหรือความเสียหาย และควบคุมค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดภัยทางไซเบอร์ได้ ซึ่งค่าเบี้ยประกันภัยไม่แพง ประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงได้

Q :  ข้อแนะนำการเลือกซื้อประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคล มีอย่างไรบ้าง?

A : การใช้ชีวิตประจำวันและไลฟ์สไตล์แต่ละบุคคลทำให้มีความเสี่ยงภัยแตกต่างกันไป ให้พิจารณาเลือกซื้อความคุ้มครองตามความเสี่ยงภัยของตนเอง และการประกันภัยนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่ซื้อขายสินค้าออนไลน์และทำธุรกรรมต่าง ๆ ทางอินเตอร์เน็ต 

Q : ประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคล ของแต่ละบริษัทประกันภัยให้ความคุ้มครองเหมือนหรือต่างกัน อย่างไร?

A : ประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคล ของแต่ละบริษัทอาจเหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขความคุ้มครอง ขณะนี้ มีหลายความคุ้มครองที่บริษัทได้ยื่นขอไว้ โดยประชาชนสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างตามเงื่อนไขกรมธรรม์ฯ ดังนี้ 

1) การถูกโจรกรรมเงินทางอินเทอร์เน็ต 

2) การถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลทางอินเทอร์เน็ต

3) การถูกกรรโชกทรัพย์ทางอินเทอร์เน็ต

4) การถูกกลั่นแกล้งทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง 

5) การถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลทางอินเทอร์เน็ต

6) การถูกคุกคามทางอินเทอร์เน็ต

7) การถูกหลอกลวงให้ซื้อขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต

8) ความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกอันเกิดจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลทางอินเทอร์เน็ต

Q : การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล ตามเงื่อนไขความคุ้มครอง หมายถึง

A : การลักข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นไปใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีผลกระทบและเกิดความเสียหายแก่ผู้เป็นเจ้าของข้อมูลนั้น

Q : การกรรโชกทรัพย์ ตามเงื่อนไขความคุ้มครอง หมายถึง?

A : การข่มขู่ให้ผู้อื่นให้ทรัพย์โดยมิชอบ ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีผลกระทบและเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคลของผู้เป็นเจ้าของอุปกรณ์นั้น

Q : การกลั่นแกล้ง ตามเงื่อนไขความคุ้มครองหมายถึง?

A : การโพสต์ข้อมูลที่บิดเบือน หรือปลอมแปลงไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลที่เป็นเท็จ รวมทั้งข้อมูลลามกต่าง ๆ ของผู้อื่น ซึ่งคนทั่วไปสามารถเข้าไปดูข้อมูลนั้นได้ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียหาย และให้รวมถึงการบูลลี่ผู้อื่นด้วย

Q : ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต ตามเงื่อนไขความคุ้มครอง หมายถึง?

A : การกระทำหรือการดำเนินการใด ๆ โดยมิชอบ โดยใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์ โดยมุ่งหมายให้เกิดการประทุษร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง

Q : ประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคลโดยทั่วไป มีข้อยกเว้น อะไรบ้าง?

A : โดยทั่วไป ประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคลไม่ให้ความคุ้มครอง ในกรณีดังต่อไปนี้

1) ความสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนทำประกันภัย

2) ความสูญเสียหรือความเสียหายที่สามารถเรียกร้องได้จากผู้รับผิดชอบจากแหล่งอื่น

3) การทุจริต การฉ้อโกง การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย หรือผู้กระทำการแทนผู้เอาประกันภัย

4) การกระทำ หรือการละเลยของผู้เอาประกันภัยในฐานะพนักงาน ลูกจ้างของผู้เอาประกันภัย หรือผู้กระทำการแทนผู้เอาประกันภัย

5) การพนัน

    6) ค่าปรับทางแพ่ง ค่าปรับทางอาญา ค่าปรับโดยสัญญา หรือค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ

Q : เบี้ยประกันภัยสำหรับประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคล อยู่ที่ประมาณ เท่าไร?

A : เบี้ยประกันภัยจะขึ้นกับความคุ้มครองและวงเงินคุ้มครอง (แผนประกันภัย) ที่เลือกซื้อ โดยปัจจุบันเบี้ยประกันภัยจะอยู่ตั้งแต่หลักร้อย จนถึงหลักพันกว่าบาท

Q : เงื่อนไขการรับประกันภัย มีอะไรบ้าง?

A : โดยทั่วไปเงื่อนไขการรับประกันภัยขึ้นกับเงื่อนไขที่กำหนดของแต่ละบริษัท อาทิเช่น อายุ สัญชาติ ข้อตกลงความคุ้มครองและวงเงินความคุ้มครอง (แผนประกันภัย) เป็นต้น

Q : หากต้องการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคล จะต้องดำเนินการอย่างไร?

A : สามารถยื่นเรื่องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ที่บริษัทฯ ที่ซื้อไว้ ซึ่งมีหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ฯ โดยทั่วไปกำหนดหลักฐานหรือเอกสารที่ต้องยื่นประกอบตามแต่ละข้อตกลงคุ้มครองที่เลือกซื้อ  

Q : มีบริษัทประกันภัยใดบ้าง? ที่ได้รับความเห็นชอบประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคลไปแล้ว และจัดแผน  ความคุ้มครองขายให้ประชาชนอยู่ในปัจจุบัน

A : บมจ. กรุงเทพประกันภัย และบมจ.ทิพยประกันภัย (ข้อมูล ณ วันที่ 13 มีนาคม 2564)

Q : หากมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคล สามารถติดต่อได้ ที่ไหน?

A: สามารถติดต่อได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186 หรือ เว็บไซต์ คปภ www.oic.or.th หรือติดต่อได้ที่สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งมีศูนย์ดูแลสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย หรือสำนักงาน คปภ.ภาค/จังหวัดทั่วประเทศ  หรือหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเข้าไปที่ chatbot “คปภ. รอบรู้” (LINE@OICConnect)

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img

ข่าวล่าสุด

บริษัท ไม่ลองไม่รู้ จำกัด เลขที่ 108/240 หมู่ที่ 2 หมู่บ้านพฤกษาวิลล์56 ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210

E-Mail : anchaliphon.k@gmail.com

T. 081-666-6822

จำนวนผู้เข้าชม : 973,584

©2020-2022 www.worldbusiness-th.com