Friday, 29 March 2024 | 10:27 pm
spot_img
Friday, 29 March 2024 | 10:27 pm
spot_img

มหิดลนครสวรรค์ และซินเจนทา ขยายเครือข่าย “รักษ์ผึ้ง” ภาคกลางและตะวันออก สร้างความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

สำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้วันที่ 22 พฤษภาคมของทุกปีเป็น “วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ” โดยปีนี้ มีแนวคิดสำคัญคือ “เราทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งในการขจัดปัญหาอย่างยั่งยืน” (We’re part of the solution.) สอดคล้องกับแผนการเติบโตเชิงบวก (Good Growth Plan) ของซินเจนทา ที่ต้องการช่วยเหลือเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ นำไปสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงที่ดีอย่างยั่งยืน

นางสาววัชรีภรณ์ พันธ์ภูมิพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน ซินเจนทา เปิดเผยว่า หนึ่งในแผนงานสำคัญตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพขององค์การสหประชาชาติ ซินเจนทาได้ร่วมกับโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ดำเนินโครงการ “รักษ์ผึ้ง” มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 โดยจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ และพัฒนาโรงเรียนต้นแบบเครือข่ายการเรียนรู้ “รักษ์ผึ้ง” ผ่านงานวิจัยและการอบรมส่งเสริมให้แก่กลุ่มเกษตรกร โรงเรียน และชุมชนรอบพื้นที่เกษตรกรรมภาคกลางและภาคตะวันออก เพื่อเผยแพร่ความรู้ และสร้างความตระหนัก ในการรักษาระบบนิเวศ ดูแลแมลงผสมเกสร ตลอดจนรักษาความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

ดร. สิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ นักวิชาการศึกษา โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ “รักษ์ผึ้ง” กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ของมหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์ ได้จัดเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องผึ้งและความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ BEE LAND เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนและการสอน เรื่องการเลี้ยง การเพิ่มผลผลิต และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้ง รวมทั้งได้ประสานกับโรงเรียนระดับมัธยม เพื่อสร้างโรงเรียนเครือข่ายการเรียนรู้ “รักษ์ผึ้ง” ในเบื้องต้นมี 10 แห่งในจังหวัดนครสวรรค์ และ 5 แห่งในจังหวัดจันทบุรี เข้าร่วมเป็นโรงเรียนต้นแบบ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนเกษตรกร อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนลำไยและผู้เลี้ยงผึ้งได้ประสานความร่วมมือ เพื่อรักษาระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพโดยได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างสมดุลทั้งชาวสวนและผู้เลี้ยงผึ้ง

นายอานพ วนามี เจ้าของฟาร์มผึ้งสอยดาว เป็นประธานศูนย์ประสานงานโครงการ “รักษ์ผึ้ง” อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี กล่าวเสริมว่า หัวใจสำคัญของโครงการ คือ ซินเจนทาและมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้ามาสร้างความเข้าใจและตอบสนองความต้องการระหว่างเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งกับผู้ปลูกผลไม้ให้ได้ผลผลิตอย่างปลอดภัยตามระบบ GAP เพราะการดำเนินงานจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ โดยเฉพาะกลุ่มลำไย ซึ่งต้องการให้ผึ้งมาช่วยในการผสมเกสรดอก ยิ่งได้รับการผสมเกสรมากเท่าใด ผลก็ยิ่งติดลูกมากเท่านั้น การใช้ผึ้งช่วยผสมเกสรสามารถเพิ่มอัตราการติดดอกได้เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 30 ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง ต้องการนำรังผึ้งไปวางในสวนต่าง ๆ เพื่อนำน้ำหวานจากเกสรดอกลำไยมาผลิตน้ำผึ้ง ซึ่งน้ำผึ้งจากดอกลำไยเป็นที่นิยมในตลาดไทยและตลาดต่างประเทศ อาทิ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เพราะมีกลิ่นหอมและหวาน ดังนั้น หากเจ้าของสวนและผู้เลี้ยงผึ้งมีความรู้และความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น ก็จะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยกับผู้บริโภคมากขึ้น  ปัจจุบันได้รับความสนใจจากเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งประมาณ และชาวสวนลำไยเกือบ 100 ราย โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคต

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img

ข่าวล่าสุด

บริษัท ไม่ลองไม่รู้ จำกัด เลขที่ 108/240 หมู่ที่ 2 หมู่บ้านพฤกษาวิลล์56 ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210

E-Mail : anchaliphon.k@gmail.com

T. 081-666-6822

จำนวนผู้เข้าชม : 961,677

©2020-2022 www.worldbusiness-th.com