Friday, 26 April 2024 | 4:57 pm
spot_img
Friday, 26 April 2024 | 4:57 pm
spot_img

ภาพรวมและแนวโน้มตลาดประกันในปี 2564 (หลังโควิดระลอกใหม่) “การประกันก็คือการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข โดยมีการรวมความเสี่ยงมาไว้ที่บริษัทประกันเพื่อบริหารและกระจายความเสี่ยงกันออกไป”

ธุรกิจด้านการประกันภัยเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ถดถอยลงเนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยผมอยากจะให้ภาพรวมในมุมมองต่างๆ ทั้งหมด 5 มุมมอง ดังนี้

  1. แนวโน้มของรูปแบบสินค้าประกันภัย

บริษัทประกันจะมีการปรับเบี้ยประกันภัยพร้อมกับปรับตัวให้ลักษณะผลตอบแทนให้สอดคล้องกับภาวะตลาดในยุคนี้ โดยผ่อนถ่ายความเสี่ยงจากการลงทุนให้ผู้บริโภคมากขึ้น เช่น กรมธรรม์สะสมทรัพย์ที่การันตีผลประโยชน์ทั้งหมด จะถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบที่มีส่วนร่วมในเงินปันผลมากขึ้น ซึ่งแทนที่ทุกอย่างจะจ่ายเป็นเงินที่การันตี (เรียกว่า เงินสดคืน หรือ Coupon) ก็จะกลายเป็นการจ่ายเงินสดคืนส่วนหนึ่ง และอีกส่วนเป็นรูปแบบเงินปันผลที่ไม่การันตี (ขึ้นกับผลประกอบการของบริษัท) เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทประกันจัดพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ที่นอกเหนือจากพันธบัตรได้มากขึ้น ดังนั้น กรมธรรม์อีกรูปแบบหนึ่งที่น่าจะเข้ากับตลาดในยุคนี้คือ กรมธรรม์ประกันพ่วงการลงทุน (หรือ ยูนิตลิงค์) ซึ่งหาอ่านรายละเอียดได้ในบทความก่อนๆ ที่ผมเคยเขียนลงไว้

  • แนวโน้มของการลงทุนของบริษัทประกันภัย

เมื่อบริษัทประกันรับเบี้ยประกันภัยจากประกันสะสมทรัพย์หรือบำนาญมา ส่วนใหญ่จะนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนในพันธบัตรเพื่อที่จะการันตีเงินคืนให้กับลูกค้าได้ (เป็นวิธีจัดการความเสี่ยงของบริษัทประกันอยู่แล้ว) แต่ในสภาวะวิกฤตของเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้การหาผลตอบแทนที่สูงเป็นไปได้ยาก ทำให้บริษัทประกันภัยต้องมองหาการลงทุนที่แตกต่างจากการลงทุนแบบเดิมและให้ประโยชน์กับผู้บริโภคให้มากที่สุดเท่าที่จะให้ได้ในภาวะผลตอบแทนจากการลงทุนที่จำกัด

  • แนวโน้มของการให้บริการลูกค้า

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่โรคระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ผู้คนต้องทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) หรือรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อช่วยลดการแพร่กระจายของโรคจากคนสู่คน บริษัทประกันภัยจึงจำเป็นต้องหาทางปรับตัวเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้อยู่รอดและให้ธุรกิจประกันภัยมีความสะดวกต่อลูกค้ามากขึ้น โดยการใช้นวัตกรรมในด้านต่าง ๆ หรือการใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น

  • แนวโน้มของช่องทางการจัดจำหน่าย

ลูกค้าจะมีการเปรียบเทียบผลประโยชน์และความคุ้มครองกรมธรรม์ และมีการพิจารณาตัดสินใจก่อนที่จะซื้อกรมธรรม์มากขึ้น ไม่ได้ซื้อเพียงเพราะความสัมพันธ์ของบุคคลหรือซื้อเพราะความเกรงใจอีกต่อไป การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ผู้คนทั่วไปเริ่มตระหนักถึงการทำประกันภัยมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้เห็นถึงความสำคัญของการทำประกันภัยที่แท้จริงอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ผู้ที่ไม่เคยได้ทำประกันภัยไว้ เมื่อเกิดภัยขึ้นก็อาจจะแบกรับความเสียหายที่มากเกินไม่ไหว ทำให้คนเหล่านั้นเริ่มสนใจและเริ่มศึกษาหาความรู้ในด้านประกันภัยมากขึ้น

  • แนวโน้มของประกันสุขภาพ

จากสถิติของไทยนั้น ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8% ต่อปี หมายความว่า ในอีก 10 ปี ข้างหน้า ค่ารักษาพยาบาลจะแพงขึ้นเป็นเท่าตัวอย่างแน่นอนจนควักเงินจ่ายเองไม่ไหว เช่น ถ้าเป็นไข้หวัด 1 ครั้ง สมมติค่าต้นทุนค่ารักษาพยาบาลคือ 1,500 บาทในตอนนี้ แต่อีก 10 ปีข้างหน้า ต้นทุนค่ารักษาพยาบาลจะเพิ่มเป็น 3,000 บาท เมื่อถึงตอนนั้นแล้วการเข้าถึงโรงพยาบาลจะกลายเป็นเรื่องที่ยากในทันที

ดังนั้น ถ้าให้ผมฟันธงแล้ว จะเห็นว่า ทิศทางของแบบประกันสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องความคุ้มครองโรคร้ายแรงและคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเวลาที่เจ็บป่วยเข้าโรงพยายาลนั้นจะยังมาแรงอยู่และที่มาแรงอย่างเงียบๆ คือ ประกันพ่วงการลงทุน (ยูนิตลิงค์) ที่เปิดโอกาสการซื้อประกันในมิติใหม่ที่จะทำให้เบี้ยประกันถูกกว่าแบบประกันแบบการันตีทั่วไป และสุดท้ายที่เข้ามาแน่นอนคือ ประกันโควิด ที่จะโหนกระแสเข้ามาในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 นี้ โดยทางฝั่งลูกค้าก็จะมีการปรับตัวในลักษณะของการที่จะหาความรู้ก่อนตัดสินใจซื้อประกัน เพราะเนื้อหาความรู้ของตัวแบบประกันภัยเองนั้นสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น หรือถ้าอยากให้ผมเขียนหัวข้อไหนเกี่ยวกับแบบประกันก็ Inbox เข้ามาได้ที่ เพจ นักคณิตศาสตร์ประกันภัย – ทอมมี่ แอคชัวรี ได้ครับ

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img

ข่าวล่าสุด

บริษัท ไม่ลองไม่รู้ จำกัด เลขที่ 108/240 หมู่ที่ 2 หมู่บ้านพฤกษาวิลล์56 ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210

E-Mail : anchaliphon.k@gmail.com

T. 081-666-6822

จำนวนผู้เข้าชม : 979,378

©2020-2022 www.worldbusiness-th.com