ด้วยพื้นที่การเพาะปลูกในปัจจุบัน ของจังหวัดจันทบุรี ขยายตัวเพิ่มขึ้น หลังจาก พืชผลทางการเกษตร จังหวัดเป็นที่นิยมของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ความต้องการใช้น้ำในพื้นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงภาคส่วนอื่นๆ ทั้งอุปโภค บริโภค รวมถึงภาคการผลิต ดังนั้นพื้นที่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ศักยภาพสามารถสร้างแหล่งเก็บน้ำต้นทุนในช่วงฤดูฝนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็น 1 ใน 3 จังหวัดเป็นพื้นที่รับมรสุม มีปริมาณน้ำฝนในระดับสูง แต่ด้วยภูมิศาสตร์ที่เป็นพื้นที่ราดชัน ทำให้ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ และเกิดปัญหาความต้องการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้ง เพราะยังขาดแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่
การพัฒนาเศรษฐกิจ จ.จันทบุรี ให้สามารถขับเคลื่อนไปได้ทั้งระบบ ผ่านโครงการ“อ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด”จึงเกิดขึ้นบนความร่วมมือ โดยการขับเคลื่อนของกรมชลประทาน ภาครัฐและประชาชนในพื้นที่ที่เห็นพ้องต้องกัน ว่าจะต้องก่อสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง และลดผลกระทบอุทกภัยที่เกิดขึ้น ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูป่า เพื่อสร้างพื้นที่แหล่งอาหารให้กับสัตว์ป่า เช่นช้าง เพื่อลดการเคลื่อยย้ายเข้ามาหากินในพื้นที่เกษตร https://www.youtube.com/watch?v=zAAFM2VqR4A
โดยกรมชลประทานได้เข้ามาศึกษารายละเอียดในพื้นที่ เพื่อดูความเหมาะสมในการก่อสร้าง ซึ่งปัจจุบันโครงการได้ผ่านคณะกรรมการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment EIA) เป็นที่เรียบร้อยแล้วพบว่า ด้วยศักยภาพพื้นที่ สามารถสร้างอ่างเก็บน้ำแห่งที่ 4 ของแผนพัฒนาอ่างเก็บน้ำ ลุ่มน้ำวังโตนด ที่มีความจุ 99.5 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานได้ถึง 87,700 ไร่ ซึ่งกรมชลฯ ยังได้มีแผนการบริหารจัดการน้ำในอนาคตในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง ที่สามารถส่งน้ำส่วนเกิน ประมาณ 70 ล้านลูกบาศก์ต่อปี ในช่วงฤดูน้ำหลากไปยังพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC ) ได้ ทำให้การพัฒนาโครงการสามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุดกับชุมชน ซึ่งคนในพื้นที่ อย่าง นางพัชญา อนุภาคภราดร เกษตรกร หมู่ที่ 1 ต.ขุนซ่อง ต.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี มองโอกาส ที่จะเกิดขึ้นในการพัฒนา อ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด ว่า พื้นที่ตรงนี้อยู่มา ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย เป็นพื้นที่ทำสวนยาง สวนผลไม้ ในช่วงหน้าฝนน้ำจะหลากน้ำ จนกลายเป็นน้ำท่วม หน้าแล้งก็ขาดแคลนน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ก็มีน้อย ก็เกิดปัญหาในการทำสวนผลไม้ และสวนยาง ส่วนในเรื่องสัตว์ป่า ที่ในปัจจุบัน ก็คือขาดแคลนน้ำ ขาดอาหาร แต่ถ้าอ่างเก็บน้ำสร้างเสร็จ ทำให้มีแหล่งน้ำคิดว่าแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้แน่นอน และเป็นแนวกันช้างได้เป็นอย่างดี