Thursday, 25 April 2024 | 9:57 pm
spot_img
Thursday, 25 April 2024 | 9:57 pm
spot_img

กรมชลประทาน มุ่งพัฒนาแหล่งน้ำ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายใต้ 4 ภารกิจสำคัญ “จัดหา จัดเก็บ จัดสรร และ จัดการ”

ประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 320 ล้านไร่ แบ่งเป็นพื้นที่การเกษตรประมาณ 149 ล้านไร่ เป็นพื้นที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่ชลประทานได้ประมาณ 60 ล้านไร่ ปัจจุบันมีการพัฒนาพื้นที่ชลประทานไปแล้วกว่า 33 ล้านไร่ ยังคงเหลือประมาณ 27 ล้านไร่ ที่จะต้องดำเนินการต่อไป

กรมชลประทาน ได้เร่งรัดงานพัฒนาแหล่งน้ำต่าง ๆ โดยกำชับให้ทุกโครงการแล้วเสร็จภายในกรอบงบประมาณและระยะเวลาที่กำหนด  เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากโครงการได้อย่างเต็มศักยภาพ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำที่ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กำหนดไว้ ในการเร่งรัดและพัฒนาแหล่งน้ำเดิมควบคู่กับการพัฒนาแหล่งน้ำใหม่

เป้าหมายของกรมชลประทาน ที่จะพัฒนาพื้นที่ชลประทานให้ได้อีก 18 ล้านไร่ ในส่วนของปริมาณน้ำท่ามีเฉลี่ยปีละ 280,000 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้เพียง 82,000 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 37 กรมชลประทานจึงต้องหาแนวทางเก็บกักน้ำให้ได้เพิ่มขึ้น เป้าหมายใน 20 ปีข้างหน้าคือเพิ่มปริมาณน้ำให้ได้ 13,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของคนทั้งประเทศในอนาคต

สำหรับโครงการสำคัญตามนโยบายรัฐบาลที่ให้กรมชลประทานเร่งดำเนินการ หลายโครงการสามารถเริ่มเก็บกักน้ำได้ และพร้อมส่งน้ำให้ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ได้แล้ว และมีหลายโครงการที่คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่วางไว้ อาทิ โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่, โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดอุตรดิตถ์ , โครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก จังหวัดอุตรดิตถ์ , โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา , โครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง (คลองระพีพัฒน์) พื้นที่ภาคตะวันออก มีการประเมินเบื้องต้นโดยหน่วยงานต่างๆ ในความต้องการใช้น้ำพบว่า ด้านอุปโภค บริโภค และอุตสาหกรรม ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 350 ล้านลูกบาศก์เมตร /ปี จะเพิ่มขึ้นเป็น 820 และ 1,050 ล้านลูกบาศก์เมตร /ปี ในระยะ 10 และ 20 ปี ข้างหน้าตามลำดับ

นอกจากนี้ กรมชลประทาน ได้ดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกและโครงข่ายน้ำในภาคตะวันออก เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเป็นศูนย์กลางด้านผลไม้ของไทย อาทิก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่ อ่างเก็บน้ำคลองประแกด และอ่างเก็บน้ำแก่งหางแมว รวมถึงสำรวจลำน้ำสาขา เพื่อพิจารณาดำเนินการปรับปรุงขยายคลอง สร้างประตูระบายน้ำ (ปตร.) ในส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำคลองท่าลาดที่ประสบปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็มกระทบต่อการผลิตระบบประปา กรมชลประทาน ได้เตรียมแผนพัฒนาแหล่งน้ำ ประกอบด้วยอ่างเก็บน้ำห้วยกรอกเคียน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กรมชลประทานดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้กรมชลประทานเร่งรัดเสนอโครงการอ่างเก็บน้ำหนองกระทิง และอ่างเก็บน้ำคลองกระพง เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เพื่อเพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำในภูมิภาค และใช้ประโยชน์จากน้ำให้ได้มากที่สุด

ขณะที่ในพื้นที่ภาคใต้ ได้เร่งดำเนินโครงการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย ตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรี ,ชุมพร , นครศรีธรรมราช , ตรัง และ สงขลา โดยการดำเนินงานมีความคืบหน้าไปมาก บางโครงการคืบหน้าแล้วกว่าร้อยละ 70-80 ของแผนงาน ปัจจุบันสามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ได้แล้ว และทุกโครงการได้ก่อสร้างประตูระบายน้ำ (ปตร.) บริเวณปลายคลองเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้อีกด้วย สำหรับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีโครงการอ่างเก็บน้ำยะรม อ.เบตง จ.ยะลา สามารถเก็บกักน้ำได้ 12 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมจะรองรับการขยายตัวของเมืองเบตง และพื้นที่สามเหลี่ยมเศรษฐกิจในอนาคต (ประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย)

สำหรับพื้นที่การเกษตรรอบทะเลสาบสงขลา ที่กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำจืด กรมชลประทาน ได้มีโครงการบริหารจัดการน้ำคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา เบื้องต้นได้เร่งรัดจัดหาแหล่งน้ำจืดให้กับประชาชน ด้วยการจัดหาพื้นที่แหล่งน้ำธรรมชาติ ตระพังรอบพื้นที่ โดยการขุดขยายคลองเดิมและสร้างประตูระบายน้ำ (ปตร.) เพื่อเก็บกักน้ำและสามารถสำรองน้ำไว้ใช้ในพื้นที่

การดำเนินการดังกล่าว อยู่ภายใต้4 ภารกิจสำคัญของกรมชลประทาน คือ “จัดหา จัดเก็บ จัดสรร และจัดการ” ซึ่งในทุกกระบวนการได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอนเพื่อให้การดำเนินงานโครงการเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในพื้นที่  โดยการสร้างกระบวนการรับรู้ การมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน รวมถึงกลุ่มผู้ใช้น้ำ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของความสำเร็จของกรมชลประทานที่ช่วยกันหนุนและนำการบริหารน้ำของกรมชลประทานผ่านพ้นวิกฤติแล้งและท่วมมาด้วยกัน

นอกจากนี้ กรมชลประทาน ยังยึดมั่นในหลักการทรงงานตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ด้วยการรับฟังข้อเสนอของประชาชน เพื่อนำมาหาทางออกร่วมกัน เพื่อให้ได้แนวทางเหมาะสมที่สุดกับประชาชน หลายโครงการจึงสามารถเดินหน้าได้ ทั้งยังเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (2561-2580) โดยมีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ชลประทานกว่า 18 ล้านไร่ เพิ่มปริมาณน้ำกักเก็บอีกกว่า 13,000 ล้านลูกบาศก์เมตร สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล  ทั้งนี้เป้าหมายสูงสุดคือ การแก้ไขปัญหาภัยแล้งและบรรเทาอุทกภัย รวมถึงช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img

ข่าวล่าสุด

บริษัท ไม่ลองไม่รู้ จำกัด เลขที่ 108/240 หมู่ที่ 2 หมู่บ้านพฤกษาวิลล์56 ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210

E-Mail : anchaliphon.k@gmail.com

T. 081-666-6822

จำนวนผู้เข้าชม : 979,008

©2020-2022 www.worldbusiness-th.com