Thursday, 25 April 2024 | 10:47 am
spot_img
Thursday, 25 April 2024 | 10:47 am
spot_img

คลินิกกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดสัมมนา ครั้งที่ 3 (ภาคใต้) ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมเปิดรับข้อเสนอโครงการปี 66 ตั้งแต่ 3 ม.ค.-3 ก.พ.นี้

กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้จัดงานสัมมนา คลินิกกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ภาคใต้) ครั้งที่ 3 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมชฎา แอท นคร จังหวัดนครศรีธรรมราช

โดยนายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงานสัมมนา โดยมีนางสุรีพร พรโสภณวิชญ์ ผู้อำนวยการกองบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน ภายในงานมีการบรรยายเรื่อง “ภาพรวมของกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” การบรรยายเรื่อง “การยื่นเสนอขอรับทุน การพิจารณาข้อเสนอการกลั่นกรองโครงการ และการลงนามในสัญญา” และการบรรยายเรื่อง “เขียนข้อเสนอโครงการ/กิจกรรม อย่างไรเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” นอกจากนี้ผู้บริหารกองทุนฯ ได้เยี่ยมชมโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ได้แก่ โครงการการพัฒนาระบบตรวจจับแกนไม้บนภาพหน้าตัดท่อนซุงไม้ยางพาราโดยใช้เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึกและเชื่อมต่อกับระบบในโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราพัฒนาโดย สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย​​​​วลัยลักษณ์ ในฐานะหน่วยงานที่ได้รับทุนซึ่งได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาในส่วนของการประมวลผลเพื่อตรวจจับแกนไม้โดยอัตโนมัติให้มีความถูกต้องและแม่นยำจนสามารถนำไปเชื่อมต่อกับระบบอัตโนมัติในส่วนอื่น ๆ ของการตัดท่อนซุงเป็นแผ่นไม้แปรรูปที่มีจำนวนแผ่นต่อท่อนซุงมากที่สุด ขนาดของแผ่นไม้โตที่สุด เนื่องจากจำนวนและขนาดเป็นตัวกำหนดราคาของการแปรรูปท่อนซุง รวมถึงควบคุมความสูญเสียของไม้ยางพาราให้มีมูลค่าต่ำเพื่อใช้ทำเชื้อเพลิงน้อยที่สุด อันเป็นการเพิ่มมูลค่าการแปรรูปท่อนซุง โดยประโยชน์ทางตรงผู้วิจัยได้ขยายขนาดของระบบเพื่อใช้งานจริงในสายการผลิตของโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา เป็นการสนับสนุนให้โรงงานแปรรูปไม้ยางพาราเป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น

นอกจากนี้นักวิจัยได้พัฒนาโมเดลของปัญญาประดิษฐ์ที่มีความเฉลียวฉลาดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนประโยชน์ทางอ้อมโครงการนี้ได้ช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนค่าไฟฟ้าของโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา และยกระดับความสามารถในการแข่งขันของโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราในระดับสากล อีกทั้งยังสามารถคงไว้ซึ่งความเป็นเจ้าของกิจการโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราของผู้ประกอบการชาวไทย ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน โครงการนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อวงการแปรรูปไม้ยางพาราแล้ว ยังสามารถนำไปประยุกต์และพัฒนาอัลกอริทึมจากการตรวจจับไส้ไม้ ไปใช้ในงานการตรวจจับจุดใด ๆ เช่น การตรวจจับดวงตาและรูม่านตา ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในวงการแพทย์ที่มีส่วนช่วยในการลดระยะเวลาการวินิจฉัยของแพทย์ เช่น ระบบปัญญาประดิษฐ์ในการช่วยตรวจจับโรคตาเข กลุ่มโรคต้อ เป็นต้น

สัมมนาคลินิกกองทุนฯ จัดขึ้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ที่ต้องการให้ทุนสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อันเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการสาธารณะและไม่เป็นการแสวงหากำไร ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านจะได้รับทราบแนวทางและขั้นตอนการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ยังให้คำปรึกษาในการเขียนข้อเสนอโครงการขอรับทุนและการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้สนใจซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านมีส่วนสำคัญในการใช้องค์ความรู้ในการนำเสนอนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อนำพาประเทศไปสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบต่อไป โดยจะมีการจัดสัมมนาคลินิกกองทุน อีกสองครั้ง ที่จ.ขอนแก่น และจ.กรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เปิดรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2566 ถึง 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 หน่วยงานหรือผู้สนใจยื่นข้อเสนอโครงการ ผ่านระบบทางเว็บไซต์ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ https://defund.onde.go.th หรือ โทร.02-142-7575 / เฟซบุ๊ก เพจ กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม www.facebook.com/defundth

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img

ข่าวล่าสุด

บริษัท ไม่ลองไม่รู้ จำกัด เลขที่ 108/240 หมู่ที่ 2 หมู่บ้านพฤกษาวิลล์56 ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210

E-Mail : anchaliphon.k@gmail.com

T. 081-666-6822

จำนวนผู้เข้าชม : 978,675

©2020-2022 www.worldbusiness-th.com