Monday, 6 May 2024 | 10:37 pm
spot_img
Monday, 6 May 2024 | 10:37 pm
spot_img

วช. เปิดบ้าน ชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2567 พร้อมแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรมด้านการรองรับสังคมสูงวัย (NRCT Open House 2023)

วันที่ 22 มิถุนายน 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดการประชุมชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 และแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม (NRCT Open House 2023) ด้านการรองรับสังคมสูงวัย
โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมฯเพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการรับข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม และกรอบการวิจัยและนวัตกรรมที่ วช. ให้การสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 27 มิถุนายน 2566 ในรูปแบบ onsite ณ ห้องจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ณ อาคาร วช.1 และในรูปแบบออนไลน์ผ่าน (VDO Conference) ด้วยระบบ Zoom การถ่ายทอดสด (Live Streaming) ผ่านช่องทางออนไลน์ Facebook ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. ได้จัดการประชุมชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ปี 2567 และการแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม (NRCT Open House 2023) ระหว่างวันที่ 19 – 27 มิถุนายน 2566 ซึ่งในวันนี้เป็นวันที่สี่ ในด้านการรองรับสังคมสูงวัย โดยกรอบการสนับสนุนการวิจัยด้านการรองรับสังคมสูงวัย ได้มองถึงประเด็นโจทย์การวิจัยและความท้าทายในด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรจากสถานการณ์ประชากรสูงอายุในประเทศไทยเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เข้าสู่การเป็น “สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์” รวมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แนวโน้มวัยสตรีเจริญพันธุ์ที่ลดลง ส่งผลต่อการเกิดของประชากรไทยในอนาคต อัตราการเกิดที่ลดลง และอายุเฉลี่ยที่ยืนยาวขึ้น ส่งผลต่อโครงสร้างประชากร การขาดแคลนแรงงานนอนาคต ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ผู้สูงอายุจำนวนมากยังมีระดับการศึกษาต่ำ นำไปสู่ความเปราะบางในการเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต อีกทั้งรวมไปถึง อัตราการสูงวัยในแต่ละจังหวัดที่ไม่เท่ากัน ข้อมูลแนวโน้มสถานการณ์ดังกล่าวต้องการข้อมูลจากงานวิจัยเพื่อสนับสนุนการวางแผนพัฒนาระบบ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุในอนาคต

ในปี 2567 ประเด็นการวิจัยด้านการรองรับสังคมสูงวัย มุ่งเน้นด้านการพัฒนาผู้สูงอายุในภาคชนบท/เกษตรและเมืองสามารถพึ่งตนเองได้ มีคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สังคมตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมีระดับความสำเร็จตามดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุสูงขึ้น มุ่งเน้นให้ประเทศไทยมีความพร้อมในการเป็นสังคมสูงวัย ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและการอยู่ร่วมกันของคนทุกช่วงวัย รวมทั้งส่งเสริมให้ประชากรไทยมีการเตรียมการเข้าสู่ วัยสูงอายุ ด้วยการใช้ผลงานวิจัยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามกรอบการวิจัยใน 4 ประเด็นดังนี้ 1) นวัตกรรมทางสังคมเพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีพลังและยังประโยชน์ เพื่อการวิจัยและพัฒนารูปแบบนวัตกรรมทางสังคม เกิดการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อการคุ้มครอง ดูแล และส่งเสริมการใช้ศักยภาพของผู้สูงอายุ 2) เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง เพื่อการส่งเสริมการสร้างงานสร้างรายได้ที่เหมาะสมตรงตามทักษะของผู้สูงวัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ สร้างความตระหนักในคุณค่าของตนเอง และสร้างแรงจูงใจในการทำงานของผู้สูงอายุในรุ่นปัจจุบันและรุ่นต่อไปในอนาคต 3) การพัฒนานวัตกรรมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย เพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ และช่วยเหลือการทำงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของวัยแรงงาน ผู้สูงอายุ และคนพิการ 4) การอยู่ร่วมกันของคนทุกช่วงวัย การวิจัยและพัฒนาแนวทางหรือมาตรการที่สนับสนุนการช่วยเหลือและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนทุกช่วงวัย ในการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่สังคมสูงวัย ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายที่มีความสำคัญของแผนงาน ววน. ที่จะขับเคลื่อนภายใต้กรอบ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2566 – 2570 ถือว่าเป็นประเด็นที่ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม วช. มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการวิจัยในด้านการรองรับสังคมสูงวัย เพื่อแก้ปัญหาและสร้างโอกาส พร้อมกับการยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความสุขของคนไทยทุกคน รวมถึงพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน

ถัดมา เป็นการเสวนาเรื่อง “แนวทางการเขียนและพิจารณาข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม ด้านการรองรับสังคมสูงวัย ประจำปีงบประมาณ 2567” มีผู้ร่วมเสวนาและประเด็นเสวนา ดังนี้
• ประเด็น “การรองรับสังคมสูงวัย : โจทย์ท้าทายของสังคม” โดย คุณกอบกุล กวั่งซ้วน
• ประเด็น “นวัตกรรมทางสังคมเพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีพลังและยังประโยชน์” โดย คุณศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์
• ประเด็น “การอยู่ร่วมกันของคนทุกช่วงวัย” โดย ศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ
• ประเด็น “การพัฒนานวัตกรรมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย” โดย รศ. ดร.ศรีสวัสดิ์ ทรัพย์สมบูรณ์
• และประเด็น “Impact Pathway ประเด็นสำคัญของการเขียนโครงการวิจัย” โดย ดร.มารยาท สมุทรสาคร

สำหรับกิจกรรมภายในงาน ได้นำเสนอวีดิทัศน์แนะนำการใช้งานระบบ “NRIIS” โดย คุณเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ คุณศยามล ไชยปุรณะ ผู้อำนวยการกลุ่มงานวิเคราะห์ ประมวลผล และบูรณาการข้อมูลสารสนเทศ และ “การแถลงผลสำเร็จจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ด้านการรองรับสังคมสูงวัย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเขียนข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม” ในหัวข้อ “ภาพรวมผลสำเร็จจากผลงานวิจัยนวัตกรรมด้านการรองรับสังคมสูงวัย” โดย คุณศิรินทร์พร เดียวตระกูล ผู้อำนวยการภารกิจการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศด้านการรองรับสังคมสูงวัย วช.

นอกจากนี้ยังมีการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเขียนข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นต่างๆ ซึ่งผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย
• รศ. ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ประเด็น “การมีงานทำของแรงงานสูงวัย” และโครงการวิจัย เรื่อง “การวางแผนและเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุของแรงงานในพื้นที่ชนบท และเมือง”
• ดร.นณริฏ พิศลยบุตร มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ประเด็น “สานพลังชุมชน สร้างมูลค่าเศรษฐกิจไทย” และโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนากลไกความร่วมมือสานพลังชุมชนอย่างมีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของผู้สูงอายุในชุมชนอย่างยั่งยืน”
• ว่าที่ ร.ต.ดร.อุดม สุวรรณพิมพ์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประเด็น “บูรณาการเครือข่าย เพื่อการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่” และโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม”
• ดร.พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประเด็น “นวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ” และโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ช่วยการได้ยินในผู้สูงอายุ”
• ผศ. ดร.รณพีร์ ชัยเชาวรัตน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเด็น “นวัตกรรมมุ่งเป้า ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน” และโครงการวิจัย เรื่อง “หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายแบบใช้พลังงานต่ำผสานการขับเคลื่อนด้วยล้อเพื่อช่วยเหลือการเดินของมนุษย์”
ซึ่งกิจกรรมการเสวนาในวันนี้จะนำไปสู่แนวคิดในการจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยและนวัตกรรม ให้กับนักวิจัย และ ผู้ที่สนใจ ได้เห็นภาพของกรอบการวิจัยและนวัตกรรมด้านการรองรับสังคมสูงวัยในประเด็นต่างๆ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ การเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 และการแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรมของ วช. (NRCT Open House 2023) มีประเด็นการชี้แจงกรอบการวิจัยที่น่าสนใจ 9 ด้าน ในระหว่างวันที่ 19 – 27 มิถุนายน 2566 ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาศูนย์กลางกำลังคนระดับสูงและศูนย์กลางการเรียนรู้ระดับอาเซียน 2) ด้านสังคมและความมั่นคง 3) ด้านการพัฒนาเส้นทางอาชีพนักวิจัยและนวัตกรรมและการวิจัยเพื่อฐานทางวิชาการ 4) ด้านการรองรับสังคมสูงวัย 5) ด้านสัตว์เศรษฐกิจ 6) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7) ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 8) ด้านเศรษฐกิจและการเกษตร และ 9) ด้านการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ (KM) ซึ่งการชี้แจงกรอบการวิจัย ทั้ง 9 ด้าน นั้น จะทำให้นักวิจัยได้รับทราบข้อมูล ที่สำคัญไปสู่การพัฒนาและต่อยอดงานวิจัยในอนาคต

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img

ข่าวล่าสุด

บริษัท ไม่ลองไม่รู้ จำกัด เลขที่ 108/240 หมู่ที่ 2 หมู่บ้านพฤกษาวิลล์56 ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210

E-Mail : anchaliphon.k@gmail.com

T. 081-666-6822

จำนวนผู้เข้าชม : 984,185

©2020-2022 www.worldbusiness-th.com