Saturday, 27 April 2024 | 1:05 am
spot_img
Saturday, 27 April 2024 | 1:05 am
spot_img

ง่วงทุกที่ ทุกเวลา เพราะคุณขี้เซาหรือกำลังเสี่ยงเป็น โรคนอนเกิน (Hypersomnia)

โรคนอนเกิน (Hypersomnia) คืออะไร

โรคนอนเกิน (Hypersomnia) มีอีกชื่อหนึ่งว่า Excessive Daytime Sleepiness (EDS) อาการของโรคนี้คือมักจะง่วงนอนตอนกลางวันมากเกินไป หรือใช้เวลานอนมากเกินไป ทำให้คนที่มีอาการเหล่านี้เกิดปัญหาการตื่นตัวระหว่างวัน ผู้ที่เป็นโรคนอนเกินนั้นสามารถนอนหลับได้ตลอดเวลา อย่างเช่น หลับในที่ทำงาน ขณะขับรถ

นอกจากนั้นแล้วพวกเขาอาจจะมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการนอนอื่นๆ ตามมา อย่างเช่น การขาดพลังงาน มีปัญหาในการคิด ทั้งยังส่งผลต่อสมาธิอีกด้วย คนที่เป็นโรคนอนเกินนั้นมักจะมีปัญหาในการทำงานระหว่างวัน เนื่องจากพวกเขามักจะรู้สึกเหนื่อยบ่อยๆ

สาเหตุของการเกิดโรคนอนเกิน

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนอนเกินขึ้นนั้นมีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน รวมถึงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้

  • ความผิดปกติของการนอนหลับ เป็นโรคลมหลับ (Narcolepsy) หรือง่วงนอนตอนกลางวัน นอกจากนั้นแล้วยังมีการหยุดหายใจขณะหลับอีกด้วย
  • นอนไม่เพียงพอในเวลากลางคืน หรืออดนอน
  • น้ำหนักเกิน
  • การใช้ยาหรือแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด
  • การบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือโรคระบบทางเดินประสาท เช่น เส้นโลหิตตีบหลายเส้น หรือโรคพาร์กินสัน
  • การใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง เช่น ยากล่อมประสาท หรือยาแก้แพ้
  • พันธุกรรม ซึ่งอาจจะมีญาติเคยเป็นโรคนอนเกินก็เป็นได้
  • โรคซึมเศร้า

หากมีอาการเหล่านี้ คุณกำลังเสี่ยงเป็นโรคนอนเกิน

บางคนอาจจะยังแน่ใจว่าตัวเองกำลังเป็นโรคนอนเกินอยู่หรือเปล่า ลองสำรวจตัวเองดูว่ามีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวคุณหรือไม่

  • งีบหลับเป็นประจำในระหว่างวัน
  • รู้สึกไม่สดชื่น
  • หลับระหว่างวันบ่อยครั้งขณะรับประทานอาหารหรือพูดคุย
  • นอนหลับเป็นเวลาหลายชั่วโมงในเวลากลางคืน

หากคุณมีอาการเหล่านี้ ขอแนะนำว่าให้ลองไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและบอกเล่าถึงอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องจะเป็นการดีที่สุด

การรักษาโรคนอนเกินสามารถทำได้อย่างไรบ้าง

สำหรับการรักษาโรคนอนเกินนั้น วิธีการรักษาอาจจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้คุณเกิดโรคนอนเกิน บางครั้งก็สามารถรักษาโรคนอนเกินได้ด้วยยาชนิดต่างๆ เช่น เมทิลเฟนิเดต (Methylphenidate) และ โมดาฟินิล (Modafinil) ซึ่งเป็นยาที่ช่วยกระตุ้นให้คุณรู้สึกตื่นตัวมากขึ้น

นอกจากนั้นแล้ว การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตก็ถือเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการบำบัดโรคนอนเกินที่เกิดขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้คุณนอนตามตารางเวลาปกติ หลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างที่อาจทำให้อาการดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงก่อนนอน คนส่วนใหญ่ที่มีภาวะนอนเกินไม่ควรดื่มเหล้าหรือใช้ยา โดยแพทย์อาจจะแนะนำให้ทานอาหารที่มีสารอาหารสูง เพื่อรักษาระดับพลังงานตามธรรมชาติเอาไว้

โรคนอนเกินสามารถป้องกันได้อย่างไร

ความจริงแล้วยังไม่มีวิธรป้องกันโรคนอนเกินได้ แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงของภาวะโรคนอนเกินได้ ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมในการนอนให้รู้สึกสงบมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนั้นแล้วควรทำดังนี้

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img

ข่าวล่าสุด

บริษัท ไม่ลองไม่รู้ จำกัด เลขที่ 108/240 หมู่ที่ 2 หมู่บ้านพฤกษาวิลล์56 ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210

E-Mail : anchaliphon.k@gmail.com

T. 081-666-6822

จำนวนผู้เข้าชม : 979,511

©2020-2022 www.worldbusiness-th.com