Saturday, 27 April 2024 | 4:18 pm
spot_img
Saturday, 27 April 2024 | 4:18 pm
spot_img

ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย-จีน ไตรมาส 4/2566 ผลักดัน 3 นโยบายเศรษฐกิจเร่งด่วนของรัฐบาลใหม่

“การแก้ไขปัญหาภาวะหนี้ครัวเรือน การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ และ การปรับลดต้นทุนพลังงาน”เชื่อมั่นว่าฟรีวีซ่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวจีน และรายได้ที่ได้จากนักท่องเที่ยวจีนจะไม่ลดลง

นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการหอการค้าไทย-จีน เปิดเผยว่า หอการค้าไทยจีน ได้ทำการสำรวจจากคณะกรรมการกิตติมศักดิ์ คณะกรรมการบริหาร และสมาชิกหอการค้าไทยจีน และประธาน ผู้บริหาร และกรรมการสมาพันธ์หอการค้าไทยจีน และกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่หอการค้าไทยจีน จำนวน 265 คน ระหว่างวันที่ 15 – 25 สิงหาคม 2566 เพื่อคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ของปี 2566 ได้ดังนี้

จากข้อมูลเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่สอง ที่มีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 6.3 น้อยกว่าที่ภาคธุรกิจคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 7.3 เพราะมีปัจจัยภายในประเทศที่รอการฟื้นตัว อาทิเช่นปัญหาทางด้านราคาของอสังหาริมทรัพย์ ภัยพิบัติจากน้ำท่วม และการชะลอตีวของการส่งออก การสำรวจของหอการค้าไทยจีนพบว่าร้อยละ 59.2 มีความมั่นใจพอควร ที่คิดว่าเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปี 2566 จากภาวะเศรษฐกิจจีนที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่มาไทย ใน 7 เดือนแรกของปีนี้ นักท่องเที่ยวจีนมาเยือนไทยจำนวน 1.8 ล้านคน ซึ่งเป็นความท้าทายกว่าจะถึงเป้าหมาย 5 ล้านคนของปีนี้หรือไม่ แต่หอการค้าฯ มีข้อสังเกตว่านักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมายังประเทศไทยในปีนี้ เป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและมีค่าใช้จ่ายต่อคนค่อนข้างสูง จากการสำรวจพบว่าร้อยละ 63 มีความเชื่อว่ารายได้ที่ได้จากนักท่องเที่ยวจีนจะไม่ลดลงและอาจจะเพิ่มขึ้น เพราะนักท่องเที่ยวคุณภาพดังกล่าว

ในส่วนของเศรษฐกิจไทยนั้น ร้อยละ 69.4 เห็นด้วยว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง เพราะคาดว่าแนวโน้มนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นและการส่งออกที่ค่อยค่อยจะปรับตัวดีขึ้นในปลายปี ในขณะที่ร้อยละ 19.6 มีความมั่นใจมากต่อแนวโน้มดังกล่าว ทั้งนี้หากพิจารณาถึงสินค้าที่จะส่งออกได้ดีประกอบไปด้วยสินค้า 4 รายการ คือ สินค้าเกษตรพื้นฐาน สินค้าเกษตรแปรรูป ประเภทอาหาร อาหารทะเล และเครื่องดื่ม สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และผลิตภัณฑ์ยานยนต์และชิ้นส่วน ตามลำดับ

หากจะพิจารณาการใช้ประโยชน์จากข้อตกลง RCEP ต่อการค้ากับจีนแล้ว ผู้ที่ตอบแบบสำรวจที่มีการค้ากับจีน (208 ราย จากที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 265 ราย) พบว่าร้อยละ 12.5 ใช้ประโยชน์เป็นอย่างมาก ร้อยละ 35.1 ใช้ประโยชน์พอควร และร้อยละ 16.6 ใช้ประโยชน์น้อย ตามลำดับ ขณะที่ร้อยละ 31.25 ไม่ได้ใช้ประโยชน์เลยจากข้อตกลง RCEP การค้าระหว่างไทยกับจีนสามารถมีความสัมพันธ์ได้มากขึ้นอีกผ่านการกระตุ้นให้ใช้ประโยชน์จากข้อตกลง RCEP
การสำรวจครั้งนี้ ได้มีการสอบถามถึงนโยบายเศรษฐกิจที่รัฐบาลใหม่ควรต้องทำอย่างเร่งด่วนและพบว่า 3 นโยบายแรกที่สำคัญที่สุด คือเรื่องการเงิน การแก้ไขปัญหาภาวะหนี้ครัวเรือน การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ และการปรับลดต้นทุนพลังงาน ส่วนนโยบายเร่งด่วนที่มีความสำคัญรองลงมาคือ การเร่งส่งเสริมการท่องเที่ยวกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการเร่งกระตุ้นการส่งออก ส่วนการคาดการณ์เรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้น ร้อยละ 72.8 คิดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจจะปรับเพิ่มขึ้นอีกก่อนสิ้นปี 2566

การสำรวจความเชื่อมั่นในระยะสั้นของไตรมาส 4/2566
ส่วนผลการสำรวจ การคาดการณ์ในไตรมาสที่สี่โดยเปรียบเทียบกับไตรมาสสามของปีนี้ สมาชิกหอการค้าไทย-จีนและสมาพันธ์หอการค้าไทย-จีน ร้อยละ 40.4 ลงความเห็นว่าเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนโดยรวมของจีน จะยังทรงตัว ขณะที่ร้อยละ 30.6 คิดว่าเศรษฐกิจจีนน่าจะปรับตัวดีขึ้น ร้อยละ 41.5 คิดว่าการส่งออกไทยไปจีนยังคง ทรงตัว กล่าวได้ว่าสถานการณ์ของจีนไม่น่าจะแย่ลง และมีโอกาสที่จะฟื้นก่อนสิ้นปี ส่วนการนำเข้าของไทยจากจีนนั้น ร้อยละ 46.8 คาดว่าการนำเข้าของไทยจากจีนจะเพิ่มขึ้น ขณะที่ร้อยละ 45.7 คาดว่าจะมีการลงทุนจากจีนในประเทศไทยเพิ่ม คาดว่านโยบายจีนจะมีการรุกตลาดพันธมิตรมากขึ้นเพื่อแก้ไขภาวะการส่งออกที่ชะลอตัว และมีการกระจายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ

ในการสำรวจความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่สามของปีนี้พบว่าร้อยละ 41.5 ของผู้ตอบการสำรวจ มีความมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น และร้อยละ 43 คิดว่าเศรษฐกิจไทยยังทรงเช่นเดิม จากแนวโน้มเศรษฐกิจดังกล่าวร้อยละ 38.1 คาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 39.6 คิดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากไตรมาสที่สาม เมื่อได้สอบถามเรื่องความคิดเห็นกับอัตราแลกเปลี่ยนนั้นพบว่าผู้ตอบการสำรวจ ร้อยละ 43.4 คาดว่าอาการแลกเปลี่ยนจะอยู่ที่ช่วงประมาณ 34.6 ถึง 35.2 บาท ต่อเหรียญสหรัฐอเมริกาในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

นอกจากนี้ นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวเสริมว่า จากรายงานของศุลกากรจีน พบว่าการค้าระหว่างประเทศของจีนกับไทย ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-สิงหาคม 2566) มีมูลค่าการค้ารวม 84,425 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 6.7% (-6.7%) โดยแบ่งเป็นการส่งออกมายังประเทศไทย มูลค่า 50,078 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 2.3% (-2.3%) และ จีนนำเข้าสินค้าจากไทย มูลค่า 34,346 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 12.5% (-12.5%) ซึ่งสอดคล้องกับภาพรวมการระหว่างประเทศของจีนในเดือนสิงหาคม ที่มีมูลค่าการค้ารวมลดลง 8.2% (-8.2%) การส่งออกลดลง 8.8% (-8.8%)และ การนำเข้าลดลง 7.3% (-7.3%) และการที่เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาดการณ์

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img

ข่าวล่าสุด

บริษัท ไม่ลองไม่รู้ จำกัด เลขที่ 108/240 หมู่ที่ 2 หมู่บ้านพฤกษาวิลล์56 ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210

E-Mail : anchaliphon.k@gmail.com

T. 081-666-6822

จำนวนผู้เข้าชม : 979,731

©2020-2022 www.worldbusiness-th.com